วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

           

                 บันทึกอนุทิน 
                        วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                          อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
                  วัน/เดือน/ปี  12  ธันวาคม  2556      ครั้งที่ 5
          เวลาเข้าสอน  08.30น.       เวลาเรียน 08.30  น. 
เวลาเลิกเรียน  12.20

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย



เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์

          -ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ทางด้านคณิตศาสตร์ ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา


สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

      สาระที่ 1: จำนวนและการดำเนินงาน
      สาระที่ 2: การวัด
      สาระที่ 3: เรขาคณิต
      สาระที่ 4: พีชคณิต
      สาระที่ 5: การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
      สาระที่ 6: ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์


คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย

     1.มีความคิดเชิคณิตศาสตร์ (Mathematical Thinking)

-จำนวนนับ 1 ถึง20
-เข้าใจหลักการการนับ
-รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
-รู้ค่าของจำนวน
-เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
-การรวมและการแยกกลุ่ม

      2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และ เวลา

-เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
-รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
-เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา

     3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต

-ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
-รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ

      4.มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
     
      5.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลรูปแผนภูมิอย่างง่าย

     6.มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น


สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

      สาระที่ 1: จำนวนและการดำเนินงาน

-มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง

     จำนวน

-การใใช้จำนวนบอก ปริมาณที่ได้จากการนับ
-การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก  และตัวเลขไทย
-การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
-การเปรียบเทียบจำนวน
-การเรียงลำดับจำนวน



     การรวมและการแยกกลุ่ม

-ความหมายของการรวม
-การรวมสิ่งต่างๆ สองกลุ่มที่มีผลรวม ไม่เกิน 10
-ความหมายของการแยก
-การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10


     สาระที่ 2: การวัด

-มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกีบการวัดความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร  เงิน และ เวลา

    ความยาว น้ำหนัก และ ปริมาตร

-การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
-การเปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
-การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง

ภาพตัวอย่าง การวัด การตวง การเปรียบเทียบปริมาตร



ภาพตัวอย่าง  การเปรียบเทียบการเรียงลำดับความยาว


   
     เงิน

-ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร

     เวลา

-ช่วงเวลาในแต่ละวัน
-ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน


      สาระที่ 3: เรขาคณิต

-มาตรฐาน ค.ป.3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
-มาตรฐาน ค.ป.3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ

     ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง

-การบอกตำแหน่ง ทิศทาง และ ระยะทาง ของสิ่งต่างๆ

     รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ

-ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
-รูปวงกลม ณุปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
-การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
-การสร้างสรรค์งาน ศิลปะจากเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ

ตัวอย่าง  รูปทรงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม



ตัวอย่าง  การพับครึ่งของรูปทรง



ตัวอย่าง สามารถนำรูปทรงต่างๆมาต่อกันได้ และทำให้เกิดรูปทรงตามภาพที่เราเห็น



ตัวอย่าง การทับซ้อนของรูปทรงต่างๆ




      สาระที่ 4: พีชคณิต

-มาตรฐาน ค.ป.4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์

     แบบรูปและความสัมพันธ์

-แบบรูปของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด หรือ สี่ ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง


ภาพตัวอย่าง  เด็กๆลองช่วยกันตอบสิว่า ช่องต่อไปสีอะไร? 
"สีชมพู ต่อไปสีฟ้า"



ภาพตัวอย่าง  เด็กๆลองช่วยกันตอบสิว่า ช่องต่อไปสีอะไร? รูปร่างอะไร?



ภาพตัวอย่าง  เด็กๆลองช่วยกันตอบสิว่า ช่องต่อไปสีอะไร? รูปร่างอะไร?
"วงกลมสีชมพู "



ภาพตัวอย่าง  เด็กๆลองช่วยกันตอบสิว่า ช่องต่อไปสีอะไร? รูปร่างอะไร?
"วงกลมสีชมพู สี่เหลี่ยมสีเหลือง"



                   ภาพตัวอย่าง  เด็กๆลองช่วยกันตอบสิว่า ช่องต่อไปสีอะไร? รูปร่างอะไร?



ภาพตัวอย่าง
"วงกลมสีชมพู สามเหลี่ยมสีเขียว สี่เหลี่ยมสีเหลือง"



ภาพตัวอย่าง เด็กๆลองทายสิว่า รูปต่อจากกระต่ายเป็นรูปอะไรเอ่ย?




      สาระที่ 5: การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

-มาตรฐาน ค.ป.5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ

      การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ

-การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย


      สาระที่ 6: ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

-การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยง คณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างรรค์


กิจกรรมวันนี้

อาจารย์ในเลือกรูปทรงคนล่ะ 1 หรือ 2 ก็ได้ แร้วให้ตัดติดกลางกระดาษ แร้วให้นักศึกษาวาดต่อเติม ตกแต่งให้สวยงามตามใจชอบ ให้เป็นรูปสัตว์อะไรก็ได้

รูปที่ทำ "แมวเหมียว"
โดยใช้ วงกลมและสี่เหลี่ยม



ความรู้ที่ได้รับ

สามารถนำไปสอนกับเด็กได้จริง และเล่านิทานให้เด็กฟัง และเด็กๆได้เรียนรู้รูปร่าง รูปทรงต่างๆ


วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4


                                                                             บันทึกอนุทิน
                        วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                          อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
                  วัน/เดือน/ปี  27 พฤศจิกายน  2556      ครั้งที่ 4
          เวลาเข้าสอน  08.30น.       เวลาเรียน 08.30  น. 
เวลาเลิกเรียน  12.20

วันนี้อาจารย์ให้แต่ล่ะกลุ่มออกมานำเสนอ มีทั้งหมด 5 เรื่อง 


           ได้แก่

1.จำนวนและการดำเนินงาน
2.การวัด
3.พีชคณิต
4.เลขาคณิต
5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น


      1.จำนวนและการดำเนินงาน

          การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากเด็กวัยนี้เป็นวัยที่มีการเรียนรู้และสนใจสิ่งต่างๆรอบตัวอยู่ตลอดเวลา

         จำนวน หมายถึง ปริมาณของสิ่งต่างๆซึ่งเป็นสิ่งบอกถึงความมากหรือน้อย จำนวนสามารถแสดงได้ด้วยตัวเลข รูปภาพ หรือสัญลักษณ์อื่นๆ

         การดำเนินการ  หมายถึง  การกระทำหรือลำดับขั้นตอนที่สร้างคำใหม่ขึ้นมาเป็นผลลัพธ์ โดยการป้องค่าเข้าไป การดำเนินการสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ การดำเนินการเอกภาค จะใช้คำที่ป้อนเข้าไปเพียงหนึ่งคำ เช่น นิเสธหรือฟังก็ชันตรีโกณมิติ  ส่วนการดำเนินการทวิภาคจะใช้สองค่า เช่น การบวก  การลบ  การคูณ  การหาร  การยกกำลัง

         คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 3-5 ปี

1.มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึก เชิงจำนวน และเข้าใจเกียวกับการรวมกลุ่ม  และการแยกกลุ่ม

2.มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลาได้

3.มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่างๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

4.มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด

5.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย





2.การวัด

              การเรียนรู็คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การเตรียมความพร้อมนั้นรวมถึงการวัด

              การวัด คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ  เวลา  ระยะทาง น้ำหนักด้วยการจับเวลา  การวัดระยะทาง การชั่งน้ำหนักหรือการตวง ซึ่งมีหน่วยที่แน่นอน แต่การสอนเรื่องการวัดให้กับเด็กอนุบาล
การวัดจะต้องไม่มีหน่วย

             
              เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด

1.เข้าใจเกี่ยวกับการวัดความยาวที่มีหน่วยเป็นเมตร เซนติเมตร มิลลิเมตร เป็นต้น
2.เข้าใจเกี่ยวกับเงิน และเวลา
3.เลือกใช้เครื่องมือและหน่วยการวัดได้อย่างเหมาะสม
4.บอกความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการวัดในระบบเดียวกันได้


              การวัดและการคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดได้

1.ใช้เครื่องมือที่เป็นมาตรฐานวัดวัดความยาวของน้ำหนักและปริมาตรของสิ่งต่างๆได้
2.บอกเวลาเป็นนาฬิกา และนาที วัน/เดือน/ปี และจำนวนเงินได้
3.คาดคะเนความยาวน้ำหนัก และปริมาตรพร้อมทั้งสามารถเปรียบเทียบคำได้จากการคาดคะเนกับค่าที่ได้จากการวัดด้วยเครื่องมือ





3.พีชคณิต

               พีชคณิตเป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างความสัมพันธ์ และจำนวน พีชคณิตศาสตร์พื้นฐานจะเริ่มมีสอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา  โดยกาศึกษาเกี่ยวกับการบวก ลบ คูณ และหาร ยกกำลัง และการถอดราก พืชคณิตศาสตร์ยังคงรวมไปถึง การศึกษาสัญลักษณ์  ตัวแปร และเช็ต

               พีชคณิต  คือ เลขคณิตของสัญลักษณ์ที่ใช้แทนจำนวนตัวเลข ความหมาย คือ แทนที่จะหาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนตัวเลข เลขเฉพาะค่าพีชคณิตแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณใดๆในรูปแบบทั่วไปมากกว่า
              โดยไม่จำเป็นต้องทราบค่าปริมาณนั้น เป็นจำนวนเลขเลย การจัดการทางคณิตศาสตร์ได้แก่  การบวก  การลบ การคูณ และการหาร


รูปตัวอย่าง จากใหญ่ไปหาเล็ก จากเล็กไปหาใหญ่



 รูปตัวอย่าง เด็กๆสามารถแยกได้ตามสีได้




4.เลขาคณิต

            เรขาคณิต ความหมาย คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการจำแนกประเภท สมบัติ และโครงสร้างของเซตของจุดที่เรียงกันอย่างมีระเบียบตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดให้เป็นรูปทรงต่างๆ เช่น เส้นตรง วงกลม รูปสามเหลี่ยมระนาบ รูปกรวย เป็นต้น



             ความหมายรูปร่าง

           รูปร่าง  หมายถึง  เส้นรอบๆภายนอกของวัตถุ สิ่งของ คน พืช สัตว์ มีส่วนที่เป็นความกว้างและยาวรูปร่างมี 3ประเภท คือ

          1.รูปร่างของสิ่งที่เกิดเองตามธรรมชาติ
          2.รูปร่างที่คนเราสร้างขึ้นเป็นรูปเรขาคณิต
          3.รูปร่างที่คนสร้างสรรค์ขึ้นอย่างอิสระ


ความหมายของรูปทรง

            รูปทรง หมายถึง โครงสร้างของวัตถุ ส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนาหรือลึก จะปรากฏแก่สายตาให้ความรู้สึกเป็นแท่ง มีเนื้อที่ภายใน วัตถุต่างๆที่อยู่รอบเรามีรูปร่าง และรูปทรง ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์กำหนดขึ้น การส่งเสริใและสนับสนุนให้เด็กเข้าใจเรื่องรูปร่างและรูปทรง จะช่วยให้เด็กมีความรู้ความสามารถและทักษะที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำ


การสอนเรื่อง รูปร่าง รูปทรง สำคัญอย่างไร

            คนเราต้องเรียนรู้สิ่งที่ตนเองจะเกี่ยวข้อง เพื่อการพึ่งพาซึ่งกันและกัน แต่สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักรู้ถึงคุณค่าและภัยจาก สิ่งเหล่านั้น รูปร่างและรูปทรงเป็นสิ่งที่อยู่ในสิ่งต่างๆ เหล่านั้น เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ที่มีรูปทรงกลม เป็นต้น


การสอนเรื่อง รูปร่าง รูปทรง มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร ?

-การสอนเรื่องรูปร่างและรูปทรง
-ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์กว้างขึ้น
-เด็กได้ฝึกการคิดค้นประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ขึ้นมา
-การส่งเสริมเด็กเรียนรู้จากการเล่นเป็นการตอบสนองเด็กได้ดีตามธรรมชาติของเด็ก
-เด็กได้มีโอกาสคิดและตัดสินใจจากสิ่งที่เห็นคือรูปทรงและวัตถุที่มีรูปร่างต่างๆ
-ช่วยตอบสนองความต้องการของเด็ก


รูปเรขาคณิต

หมายถึง รูปต่างๆทางเรขาคณิต เช่น






5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ

            -การนำเสนอข้อมูล ในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
            -มีส่วนร่วมในการให้และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของแผนภูมิอย่างง่าย

การิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมในชั้นเรียนระดับปฐมวัย คือ การเปรียบเทียบและการประมวลข้อมูล
            จัดระบบและการวิเคระห์ข้อมูล เด็กปฐมวัยมีความสามารถทางการคิดระดับสูง คือ การวิเคราะห์ซึ่งเป็นการนำข้อมูลมาเปรียยบเทียบและจำแนกหรือแบ่งเป็นกลุ่มที่ีความคล้ายกันและกลุ่มที่มีความแตกต่างออกไป ต่อมาเด็กสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปสู่รูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น ตาราง กราฟ แผนภูมิ หรือวิธีการอื่นๆ เป็นต้น






ความรู้ที่ได้รับ

สามารถนำไปสอนเด็กได้ในอนาคต และเด็กจะได้รับพัฒนาทั้ง 4 ด้าน และเด็กได้เกิดการคิดวิเคาระห์